ความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง

ความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูงการทำงานบนที่สูง Working at height ถือเป็นงานเสี่ยงอันตรายตามกฎหมายความปลอดภัยฯในการทำงาน ปัจจุบันมีอุบัติเหตุที่เกิดจากการพลัดตก (Fall) จากที่สูงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความเสี่ยง(Risk)เหล่านี้มักพบได้ในงานอุตสาหกรรมต่างๆเช่น งานก่อสร้าง งานติดตั้งนั่งร้าน งานติดตั้ง และ ซ่อมบำรุง งานโรยตัวทำความสะอาดเช็ดกระจกบนตึกสูง เป็นต้น

การทำงานบนที่สูง หมายถึง การทำงานใดๆ ที่อยู่เหนือหรือต่ำกว่าระดับพื้นดิน ตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป ซึ่งบุคคลอาจตกลงมาในระยะที่อาจทำให้ได้รับบาดเจ็บได้ ตามกฎหมาย กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชัน จากวัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ พ.ศ. ๒๕๖๔

ข้อ ๒ นายจ้างต้องจัดให้มีข้อบังคับ และ ขั้นตอนกำรปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัย ในการทำงานในที่สูง ที่ลาดชัน ที่อาจมีการกระเด็น ตกหล่น หรือพังทลายของวัสดุสิ่งของ และที่อาจทำให้ ลูกจ้ำงพลัดตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ ซึ่งอย่ำงน้อยต้องประกอบด้วย การระบุอันตราย ที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงาน การวางแผนกำรปฏิบัติงาน และ การป้องกัน และ ควบคุมอันตราย รวมทั้ง ต้องอบรมหรือชี้แจงให้ลูกจ้างได้รับทราบก่อนเริ่มปฏิบัติงาน และ ควบคุมดูแลให้ลูกจ้างปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และต้องมีสำเนาเอกสารดังกล่าวไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

ในต่างประเทศก็ได้มีการกำหนดเรื่องมาตรฐานการทำงานบนที่สูงไว้เช่นกัน ดังนี้
OSHA 1926.503 ให้คำนิยามที่สูง หมายถึง การทำงานที่มีความสูงตั้งแต่ 1.8 เมตรขึ้นไป
ANSI Z359.2 ให้คำนิยามที่สูง หมายถึง ทุกที่ที่สามารถเกิดการพลัดตกได้ อธิบายง่ายๆคือที่ใดที่มีการต่างระดับถือเป็นที่สูงตามคำนิยามของ ANSI นั้นเอง

safe- up stairs

         อันตรายที่พบบ่อยที่สุดจากอุบัติเหตุของการทำงานบนที่สูง คือการพลัดตก (Fall) จากที่สูง ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดการบาดเจ็บ กลายเป็นผู้พิการ หรือถึงขั้น เสียชีวิตได้     ผู้ที่ปฏิบัติงานบนที่สูงต้องมีทักษะต่างๆเกี่ยวกับการทำงานบนที่สูงเป็นอย่างดี เช่น การเลือกใช้อุปกรณ์คุ้มครองภัยส่วนบุคคล (PPE) อุปกรณ์ป้องกันการตก (Fall) เทคนิคที่สำคัญ วิธีการขั้นตอนทำงานบนที่สูง รวมไปถึงการจัดทำแผนฉุกเฉินในการทำงานบนที่สูง การกู้ภัยบนที่สูง สิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความปลอดภัยปราศจากอุบัติเหตุ (Accident) ตลอดการปฏิบัติงานบนที่สูง 

มาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบบุคคลในการทำงานบนที่สูง

1. มาตรฐานขององค์การมาตรฐานสากล (International Standardization and Organization : ISO)
2. มาตรฐานสหภาพยุโรป (European Standards : EN)
3. มาตรฐานประเทศออสเตรเลีย และประเทศนิวซีแลนด์ (Australia Standards/New Zealand Standards : AS/NZS)
4. มาตรฐานสถาบันมาตรฐานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (American National Standards Institute : ANSI)
5. มาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น (Japanese Industrial Standards : JIS)
6. มาตรฐานสถาบัน ความปลอดภัยและอนามัยในการทํางานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (The national Institute for Occupational Safety and Health : NIOSH)
7. มาตรฐานสํานักงานบริหารความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ กรมแรงงาน ประเทศสหรัฐอเมริกา (Occupational Safety and Health Administration : OSHA)
8. มาตรฐานสมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Fire Protection   Association : NFPA)

อบรมที่สูง , อบรมการทำงานบนที่สูง ระยะการตกที่ต้องรู้ในการทำงานบนที่สูง (Fall Factor)
Fall Factor คืออะไร = Height of Fall / Length of Lanyard
– Fall Factor จะเป็น 0 (คนงานอยู่ใต้จุดเกี่ยวยึดเชือกตึงเกือบสุด)
– Fall Factor 1 ความตึงเชือกในการเคลื่อนที่ไม่เกิน 0.6 พอการเคลื่อนที่ทำงาน
– Fall Factor 2 ขึ้นไป จุดยึดเกี่ยวต่ำกว่าเอวลงไป

Fall Factor 0 = ดีมาก

Fall Factor 1 = ดี

Fall Factor 2 ไม่ดี

          ความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง การทำงานบนที่สูง หมายถึง การทำงานในสถานที่ที่บุคคลอาจได้รับบาดเจ็บจากการตกของพื้นที่ต่างระดับที่มีความสูงจากพื้นดินขึ้นไป หรืออยู่ต่ำกว่าลงไปก็ตาม ในประเทศไทยตามกฎหมาย คำนิยามการทำงานบนที่สูงว่า หมายถึง งานที่มีความสูงตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป
          หากถามว่าใครมีหน้าที่หรือมีส่วนในการรับผิดชอบสำหรับการทำงานบนที่สูง ?
กฎการทำงานที่ความสูงในปี 2005 ต่างประเทศได้พยายามนำเสนอในข้อมูลต่าง ๆ เพื่อป้องกันการเสียชีวิตและการบาดเจ็บที่เกิดจากการตกจากที่สูง ไว้โดยแนะนำให้เริ่มตั้งแต่นายจ้างมีหน้าที่ที่จะต้องจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและมาตรการต่าง ๆ ในการทำงานบนที่สูงเพื่อให้ลูกจ้างนั้นสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัย บุคคล และ ทุกคนที่ทำงานเกี่ยวกับบนที่สูงต้องมีความรับผิดชอบ ทุกฝ่ายต้องปฏิบัติตามกฎหมาย และ ระเบียบขององค์กรอย่างเคร่งครัด  
          เพื่อให้มั่นใจว่าได้มีการปฏิบัติตามกฎระเบียบว่าด้วยการทำงานบนที่สูงอย่างครอบคลุม และ ปลอดภัย กิจกรรมการทำงานทั้งหมดต้องได้รับการวางแผน ควบคุม ดูแล มีตรวจสอบว่าระบบป้องกันการตกสำหรับงานบนที่สูงนั้นได้รับการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ เป็นระยะเวลา และ ความถี่ตามความเหมาะสม หรือ ทำการตรวจทุกครั้งที่มีการเริ่มปฏิบัติงานบนที่สูง
          ผู้ปฏิบัติงานบนที่สูง กฎหมายได้ระบุไว้ถึงเจตนารมณ์ ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างหรือพนักงานนั้นได้ฝึกอบรมการทำงานบนที่สูงก่อนเริ่มทำงานบนที่สูงให้ลูกจ้างนั้นอบรมความปลอดภัยในการทำงานเพื่อสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัยและสามารถใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลได้อย่างถูกต้อง

ผู้ปฏิบัติงานบนที่สูงจะต้องเรียนรู้การใช้งานได้อย่างถูกวิธี

ตัวอย่างจากภาพคือการใช้งานอุปกรณ์กันตกอย่างผิดวิธี ” สายคล้องเกี่ยวกันตกอยู่ใต้แเขนทำให้เพิ่มการบาดเจ็บในกรณีเกิดการพัดตก “

การบริหารจัดการติดตั้งระบบกันตกไว้ถาวรเพื่อพร้อมเกาะเกี่ยวขณะขึ้นที่สูง

การติดตั้งรอกกันตกเป็นที่นิยมอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานบนที่สูงปลอดภัยโดยการเกาะรอกกันตกจากด้านบน อาจจะเป็น แบบสลิง หรือแบบเชือกก็ได้เช่นกัน วิธีนี้ทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความสะดวกเมื่อต้องขึ้นบนที่สูงในแนวที่ติดตั้งรอกเอาไว้ไม่ต้องใช้เชือกนิรภัยแบบตะขอเพื่อเกาะเกี่ยวอีกทั้งยังสามารถปีนขึ้นลงได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย

          การทำงานบนที่สูงต้องจัดให้มีการตรวจสอบอุปกรณ์ป้องกันการตก และ ทดสอบ เป็นประจำเพื่อให้แน่ใจว่าสามารถใช้งานเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน กรณีของราวบันไดจะต้องมีการตรวจสอบอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง หรือ 12 ครั้ง/ปี ความรับผิดชอบอีกประการหนึ่งของนายจ้างคือการทำให้แน่ใจว่าคนงานได้รับการแจ้งเตือนที่ชัดเจน และ ครบถ้วนห้ามเข้าใกล้หรือป้ายระวังอันตรายต่างๆ หรือคำแนะนำ เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องผ่านเข้าไปในพื้นที่อันตรายในพื้นที่ความสูงที่อาจจะพลัดตกลงไปได้โดยไม่ตั้งใจ

แหล่งที่มา https://www.safesiri.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87/

Message us